ธรรมชาติภาษา
มนุษย์ แต่ละชาติแต่ละกลุ่ม หรือแต่ละเผ่าจะมีการกำหนดเสียงที่ใช้สื่อสารกัน เพื่อสื่อความหมายเป็นภาษา ภาษาจึงเป็นสิ่งที่สังคมร่วมกันกำหนดขึ้น ที่จะให้เสียงใดมีความหมายอย่างใด ด้วยเหตุนี้ เสียงในภาษาแต่ละภาษาจึงต่างกัน เช่น เสียงในภาษาไทย ประกอบด้วย เสียงพยัญชนะ เสียงสระ และเสียงวรรณยุกต์ ขณะที่ในภาษาอังกฤษจะไม่มีเสียงวรรณยุกต์ เป็นต้นธรรมชาติของภาษา
ประเภท ของภาษาภาษาเป็นเครื่องหมายที่มนุษย์กำหนดขึ้นมาอย่างมีระบบเพื่อใช้ติดต่อ สื่อสารกันในแต่ละกลุ่ม แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ 1. วัจนภาษา 2. อวัจนภาษา
• วัจนภาษา คือ ภาษาที่เป็นถ้อยคำสำหรับใช้สื่อสารทั้งที่เป็นคำพูดหรือเป็นตัวหนังสือ
• อวัจนภาษา คือ ภาษาที่ไม่เป็นถ้อยคำ เป็นการสื่อสารกันโดยใช้กิริยาท่าทางหรือเครื่องหมายสัญลักษณ์ต่างๆ
ลักษณะทั่วไปหรือลักษณะสากลของภาษา
แบ่งออกเป็น 3 ประเด็น คือ
1. ภาษาใช้เสียงสื่อความหมาย เช่น : - แม่ (ไทย), mother (อังกฤษ) ฯลฯ
2. ภาษาประกอบด้วยหน่วยเล็กไปจนถึงหน่วยใหญ่ เช่น : - เสียง (สระ, พยัญชนะ, วรรณยุกต์) >>> พยางค์ >>> คำ ? กลุ่มคำ >>> ประโยค >>> เรื่องราว
3. ภาษามีการเปลี่ยนแปลง ได้แก่ :
• เปลี่ยนจากการพูดจาในชีวิตประจำวัน เช่น : - หมากม่วง >>> มะม่วง, สิบเอ็ด >>> สิบเบ็ด, นกจอก >>> นกกระจอก, โจน >>> กระโจน
• เปลี่ยนเนื่องจากอิทธิพลของภาษาต่างประเทศ เช่น : - ทับศัพท์ภาษาอังกฤษ ได้แก่ ฟุตบอล คอมพิวเตอร์ เทคนิค ฯลฯ หรือการนำสำนวนภาษาต่างประเทศมาใช้ ได้แก่ สนใจใน … , เข้าใจใน … , ในความคิดของ ฉัน … , ทุกสิ่งทุกอย่าง … ฯลฯ
• เปลี่ยนแปลงตามสภาพแวดล้อม เช่น : - พูดตามสมัย ได้แก่ : - กิ๊ก ปิ๊ง ฯลฯ หรือเลียนเสียงเด็ก ได้แก่ : - ม่ายอาว (ไม่เอา), อาหย่อย (อร่อย) ฯลฯ
">
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น