การสะกดคำ
การเขียนหนังสือในปัจจุบัน เรายึดถือพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 เป็นมาตรฐานส่วนคำใหม่ๆที่ยังไม่บรรจุในพจนานุกรมก็ควรดูแบบอย่างจากแหล่ง อ้างอิงอื่นๆที่เชื่อถือได้เช่น หนังสือราชกิจจานุเบกษา แถลงการณ์ของคณะสงฆ์ แถลงการณ์ ประกาศ และเอกสารอื่นๆของทางราชการ
การใช้ น ณ น และ ณ มีวิธีการใช้อย่างกว้างขวาง ต้องอาศัยการสังเกตและจดจำจึงจะสามารถเขียนคำได้ถูกต้องสังเกตได้ ดังนี้
การใช้ น
1.ใช้เขียนคำไทยแท้ เช่น นั่ง นอน นาน นิ้ว นอก ฯลฯ
2 .ใช้เขียนคำที่มาจากภาษาบาลีสันสกฤตมาแต่เดิม เช่น ชนก ชนนี สถาน นคร นิพพาน นภา ฯลฯ
3. ใช้เขียนคำที่มาจากภาษาอื่น เช่น บุหลัน นีออน ไนลอน ระเด่น เบนซิน โน้ต ฯลฯ
การใช้ ณ
1. ใช้เขียนคำที่มาจากภาษาบาลี เช่น ญาณ กัณหา จัณฑาล มาณพ มณี ฯลฯ
2. ใช้เขียนคำที่มาจากภาษาสันสกฤต ที่มีตัว ร ฤ ษ นำหน้าเสียงนอ เช่น อรุณ กฤษณา ตฤณมัย โฆษณา ฯลฯ
3.ใช้เขียนคำไทย เช่น ณ ฯพณฯ
4.การประวิสรรชนีย์
คำในภาษาไทยที่อ่านออกเสียงอะ มีทั้งประวิสรรชนีย์และไม่ประวิสรรชนีย์ จึงมักเกิดปัญหาทางด้านการเขียนอยู่เสมออีกทั้งคำที่ออกเสียงอะบางคำออก เสียงอะเต็มเสียง บางคำออกเสียงอะไม่เต็มเสียงเช่น คำว่า ทะลุ ไม่ได้ออกเสียงอะเต็มเสียง จึงจะใช้เสียงที่ออกเป็นหลักในการเขียนไม่ได้ ดังนั้นนักเรียนจึงต้องใช้วิธีสังเกตและจดจำคำที่เขียนถูกจากเอกสารที่เชื่อ ถือได้
ในภาษาไทยมีคำอยู่จำนวนหนึ่งที่ออกเสียง "ซ" แต่เขียนเป็น 2 รูป คือ "ซ" และ "ทร"
หลักการใช้ "ซ"และ "ทร" มีดังนี้
1. คำไทยแท้ที่ออกเสียง ซอ มักใช้ "ซ" เช่น ซด ซน ซบ ฯลฯ
2. คำที่รับมาจากภาษาเขมรซึ่งในภาษาเดิมใช้ ชร ไทยใช้รูป "ทร" และออกเสียง "ซอ" เช่น ทรง ทรวง ทรามฯลฯ
3. คำที่รับมาจากภาษาสันสกฤตซึ่งในภาษาเดิมใช้ ทร ไทยใช้รูป "ทร" และออกเสียง "ซอ" เช่น ทรัพย์ พุทรา ฯลฯ
4. คำที่มาจากภาษาต่างประเทศอื่นๆ ที่ออกเสียงซอ ใช้ "ซ" เช่น เซียมซี ซ่าหริ่ม ซุป เซลล์ ฯลฯ
ใน ภาษาไทยเราใช้ รร แทนเสียง อะ ในมาตราอื่นๆและแทนเสียงในแม่กน แทนเสียงอะเช่น วรรค สรรพ กรรม ธรรม แทนเสียง อัน เช่น วรรณ สรร สวรรค์ จรรยา พรรณ
1. ใช้ในคำแผลงที่แผลงมาจาก ประ คระ กระ เช่น บรรทม บบรจุ ครรไล บรรจง กรรชิง
2. ใช้ในคำแผลงที่แผลงมาจากคำที่มีตัวสะกดเป็นอย่างอื่น เช่น ภรรยา มรรค บรรยาย บรรษัท ฯลฯ
3. ใช้เขียนคำที่รับมาจากภาษาสันสกฤต ซึ่งมีรูปศัพท์เดิม เป็น ร เรผะ เช่น กรรม ธรรม วรรค ฯลฯ
ในภาษาไทยมีคำอยู่จำนวนหนึ่งที่ออกเสียง "ซ" แต่เขียนเป็น 2 รูป คือ "ซ" และ "ทร"
หลักการใช้ "ซ"และ "ทร" มีดังนี้
1. คำไทยแท้ที่ออกเสียง ซอ มักใช้ "ซ" เช่น ซด ซน ซบ ฯลฯ
2. คำที่รับมาจากภาษาเขมรซึ่งในภาษาเดิมใช้ ชร ไทยใช้รูป "ทร" และออกเสียง "ซอ" เช่น ทรง ทรวง ทรามฯลฯ
3. คำที่รับมาจากภาษาสันสกฤตซึ่งในภาษาเดิมใช้ ทร ไทยใช้รูป "ทร" และออกเสียง "ซอ" เช่น ทรัพย์ พุทรา ฯลฯ
4. คำที่มาจากภาษาต่างประเทศอื่นๆ ที่ออกเสียงซอ ใช้ "ซ" เช่น เซียมซี ซ่าหริ่ม ซุป เซลล์ ฯลฯ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น